อาการปวดเข่า… ข้อเข่าเสื่อม… อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

อาการปวดเข่า เป็นผลมาจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณรอบเข่า (เช่น การฉีกขาด ข้อต่ออักเสบ หรืออักเสบของเส้นเอ็นรอบๆเข่า) และสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ หรือผู้เล่นกีฬาที่มีการใช้เข่าและขามากๆ

และนอกจากนี้คนที่มีน้ำหนักเกินอาจจะมีความเสี่ยงในการปวดเข่ามากขึ้นอีกด้วย ซึ่งอาการปวดเข่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันก็สามารถส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเข่าได้ เช่น การที่เรายืน เดิน ลุก นั่ง งอเข่าบ่อยๆ อาจส่งผลให้เกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อโดยรอบ โดยเฉพาะการบิดเข่าจะส่งผลให้เกิดอาการปวดได้โดยง่าย

เข่ามีปัญหามักมีอาการอย่างไร ?
อาการแรกของปัญหาเข่าเลยคืออาการปวดเข่า ซึ่งระยะแรกจะปวดเป็นๆ หายๆ และปวดมากเมื่อมีการใช้งานของข้อเข่า เช่น การยืนนาน ๆ หรือการเดินขึ้นลงบันได เมื่อเป็นนานเข้าจะมีอาการฝืดขัด อาการปวดจะเป็นมากขึ้นและรุนแรงขึ้น อาจมีการสะดุดหรือข้อติดขัดเวลาเดินในรายที่เป็นมาก ๆ ข้อจะบวม

อาการปวดเข่าที่พบได้บ่อย

1. อาการปวดเข่าที่มีอาการปวดหลังร่วมด้วย
เกิดจาก หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท และมีอาการปวดหลังร้าวลงเข่า เกิดจากการดึงรั้งของกล้ามเนื้อตั้งแต่หลังจนถึงเข่า กล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะหดเกร็งและตึง จนดึงรั้งให้เกิดอาการปวดเข่าได้

2. อาการปวดเข่าจากการเล่นกีฬา / การออกกำลังกาย
ทำให้เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด มักพบได้บ่อยในการเล่นกีฬาที่ต้องมีการบิด หมุนหัวเข่า ซึ่งเอ็นไขว้หน้าจะมีหน้าที่ช่วยรักษาความมั่นคง และ ควบคุมการเคลื่อนไหวของหัวเข่า ผู้ป่วยจะมีอาการหัวเข่าอักเสบ ปวด บวม แดง ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักข้างที่มีปัญหาได้ไม่เต็มที่

3. อาการปวดบริเวณข้อพับขา ข้อพับเข่า
มักจะงอขาไม่ได้ พับเข่าได้ไม่สุด ไม่สามารถนั่งคุกเข่าหรือพับเพียบได้ โดยมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ในการงอขาเกิดการหดเกร็ง อักเสบ ขาดความยืดหยุ่น เช่น การนั่งคุกเข่า นั่งพับขา หรือนั่งยองๆ เป็นเวลานาน จนเนื้อเยื่อบริเวณข้อพับเกิดการอักเสบและมีพังผืดไปยึดเกาะ จนสูญเสียความยืดหยุ่น

4. อาการปวดเข่าจากเอ็นเข่าอักเสบ
ตัวเอ็นจะเกิดการหดเกร็ง ทำให้เนื้อเยื่อรอบข้างเกร็งตัวตามไปด้วย อาการปวดจึงเกิดขึ้น ซึ่งโดยมากความปวดจากเอ็นอักเสบนี้จะเกิดในบริเวณด้านข้างเข่า ในลักษณะของ การปวดหัวเข่าด้านนอก หรืออาการปวดหัวเข่าด้านใน

5. อาการปวดเข่าจากเข่าเสื่อม
การที่กล้ามเนื้อ กระดูก และกระดูกอ่อน มีพังผืดไปยึดเกาะ ทำให้เกิดการดึงรั้งจนผิดสมดุล และเกิดการเสียดสีของผิวกระดูก จนกระดูกอ่อนเสียหาย น้ำเลี้ยงในข้อเข่าลดลง และเกิดเป็นอาการเข่าเสื่อมในที่สุด

หากปล่อยไปนานๆ ไม่รักษาหรือดูแลข้อเข่า อาจส่งผลอันตรายถึงขั้นผ่าตัดและรักษาระยะยาวได้ และเราต้องรู้ก่อนว่าการปวดเข่าของเราเกิดจากสาเหตุอะไรและมีวิธีไหนช่วยคลายความปวดทรมานได้บ้าง

การป้องกันและดูแลไม่ให้เกิดอาการปวดเข่า

  • ควบคุมน้ำหนักตัว เพื่อลดภาระให้ข้อเข่า
  • ไม่ควรทำกิจกรรมที่ใช้ข้อเข่าเยอะเกินไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เช่น การขึ้นลงบันได นั่งยอง นั่งพื้น นั่งเก้าอี้ที่เตี้ยเกินไป หรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้เข่ามากเกินไป
  • ออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อให้ต้นขาและสะโพก รวมทั้งการบริหารเข่าเท่าที่ทำได้
  • นวดคลายกล้ามเนื้อ คลายเส้นเอ็นต่างๆ บริเวรเข่า เพื่อไม่ให้เกิดพังผิดหรือกล้ามเนื้อที่แข็งตึงเกินไป

การรักษา มี 3 วิธี
1. การรักษาแบบใช้ยา : หากอาการปวดเข่ารบกวนคุณมากเกินไป อาจจะต้องไปพบแพทย์เพื่อเช็คอาการและสาเหตุที่แน่ชัด ให้อยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์ เช่น ยาทาบริเวรที่ปวด การกินยาต่างๆ ซึ่งช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้ดี และยาคลายกล้ามเนื้อ (แต่อาจจะส่งผลอันตรายต่อตับในระยะยาวหากรับประทานบ่อยหรือนานเกินไป)

2. การรักษาแบบไม่ใช้ยา : จะมี 2 วิธี คือการนวดและการประคบ ซึ่งการรักษาแบบนี้เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้มากที่สุด เพราะปลอดภัยแน่นอน เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ไม่เป็นอันตรายต่อเข่าและสุขภาพ ทั้งบรรเทาอาการและป้องกันไปในตัว เพราะการนวด จะช่วยให้เข่าเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น คลายกล้ามเนื้อได้ดี ช่วยสลายพังผืด กระตุ้นการไหลเวียน และอีกมากมาย
3. การรักษาแบบผ่าตัด : เป็นวิธีที่ได้ผลดีแต่มีความเสี่ยงสูง และราคาสูงเช่นกัน เหมาะกับอาการปวดขั้นรุนแรง

ทำไมการนวดเข่าจึงเป็นที่นิยม

การนวด เป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายใครนิยมใช้บรรเทาอาการปวดเข่ามากที่สุด เพราะในการนวดแต่ละครั้งซ่อนประโยชน์ไว้มากมาย เช่น ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ช่วยลดการแข็งตึง ช่วยสลายพังผืด
ช่วยให้ความยืดหยุ่น ช่วยกระตุ้นการไหลเวียน มักใช้การนวดควบคู่กับการประคบร้อน เพราะความร้อนจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ช่วยผ่อนคลาย ลดการอักเสบ

การใช้เครื่องนวดเข่าในการรักษา

หากคุณมีอาการปวดเข่าบ่อยๆ และไม่อยากเสียตังเยอะหรือต้องไปหาหมอกินยา การใช้เครื่องนวดเข่า ถือว่าตอบโจทย์ที่สุด เป็นอีกหนึ่งไอเทมในการบรรเทาและป้องกันอาการปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อมได้ดีมากๆ และเริ่มเป็นที่สนใจในปัจจุบันมากขึ้น หลายคลินิกกายภาพก็ใช้เครื่องนวดเข่าเป็นตัวช่วยในการรักษา

นวดด้วยระบบ Kinetic หรือการสั่นความถี่สูง
การนวดด้วยการสั่นด้วยความถี่สูง ช่วยสลายผังพืดที่ยึดติดกับหมอนรองกระดูกเข่า สาเหตุหลักของอาการเข่าติด ปวดเข่า และการเสื่อมของกระดูอ่อนข้อต่อเข่า

และไม่เป็นการทำร้ายกล้ามเนื้อที่อักเสบเพราะไม่ใช่การบีบหรือกดลงไปแต่ใช้เป็นสั่นเขย่าให้คลายออก

สามารถใช้บำบัดประจำวัน หรือ นวดสั่นเพื่อแก้อาการปวดที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลันได้ สามารถปรับได้สูงสุดถึง 3 ระดับตามความรู้สึกของผู้ใช้ ควรไล่ระดับจากน้อยขึ้นไปเพื่อ หาระดับที่รู้สึดผ่อนคลายมากที่สุด

การออกแบบมอเตอร์ของ เครื่องนวดเข่า (iKnee) แบบพิเศษทำให้สามารถนวดแบบความถี่สูง เพื่อให้สามารถกระตุ้นเข้าไปในกล้ามเนื้อหรือข้อเข่าของคุณได้ และสามารถปรับได้ถึง 3 ระดับ สามารถใช้งานต่อเนื่องได้นานสูงสุดถึง 2 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นรอบละ 30 นาที

นวดประคบร้อน ลดอาการปวด กระดูกและเส้นเอ็น
ให้ความร้อนรอบหัวเข่าสูงสุดถึง 45°C ช่วยคลายส่วนที่อักเสบด้วยการให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลให้ต่อมและอวัยวะต่างๆ ทํางานได้ดีขึ้น ไม่จําเป็นต้องพึ่งยา ช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาล ไม่เป็นภาระของตับ ประหยัดเวลา บำบัดแบบธรรมชาติที่สุด

เหมาะสำหรับคนที่เอ็นเข้าฉีก หรือกระดูกร้าวที่ไม่สามารถนวดบีบได้ ใช้การประคบร้อนบำบัดด้วยระบบทำความร้อนแบบ Fast Heating ถึง 3 ระดับ ทำความร้อนได้รวดเร็ว

ระดับที่ 1 – 40 °C บำบัดประจำวันหรือรักษาต่อเนื่อง

ระดับที่ 2 – 42 °C บำบัดอาการปวดข้อหรืออักเสบ

ระดับที่ 3 – 45 °C บำบัดอาการบาดเจ็บ

ประโยชน์ของเครื่องนวดเข่า
1. นวดได้ทุกที่ทุกเวลา
2. ปรับระดับความแรงในการนวดได้ตามต้องการ
3. นวดพร้อมประคบร้อนด้วยแสงอินฟาเรด
4. ใช้ควบคู่กับการรักษาปกติได้ ไม่ต้องทานยาเพิ่ม
5. ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ผู้สูงอายุก็สามารถใช้ได้
6. ลงทุนครั้งเดียวสามารถนวดได้ตลอด ไม่ต้องไปร้านนวดเลย
7. ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา

ท่าบริหาร ช่วยฟื้นฟูข้อเข่าแบบง่ายๆ

1. ท่าบริหารเข่าที่ 1

  • นั่งเก้าอี้ไม่พิงหลัง ทำหลังให้ตรงๆ เอามือ  2 ข้างแนบชิดลำตัว
  • จากนั้นยกขาซ้ายขึ้นมาวางพาดไว้บนขาข้างขวา
  • ใช้มือทั้งสองข้างวางไว้บนเข่าข้างซ้าย แล้วค่อยๆ กดลงไปจนรู้สึกตึง  ทำค้างไว้ 10 วินาที และทำสลับซ้าย – ขวา ข้างละ 10 ครั้ง

2. ท่าบริหารเข่าที่ 2

  • นั่งเก้าอี้ไม่พิงหลัง ทำหลังให้ตรงๆ มือทั้ง 2 ข้างแนบชิดลำตัว และนั่งทับมือทั้งสองข้างไว้
  • ยกขาข้างใดข้างหนึ่งขึ้น  ยกขึ้นให้ได้มากที่สุด ให้รู้สึกตึง จากนั้นค้างไว้ 10 วินาที และค่อยๆ วางขาลง ทำสลับซ้าย – ขวา ข้างละ 10 ครั้ง

3. ท่าบริหารเข่าที่ 3

  • นั่งเก้าอี้ไม่พิงหลัง ทำหลังให้ตรงๆ มือทั้ง 2 ข้างแนบชิดลำตัว และนั่งทับมือทั้งสองข้างไว้
  • เหยียดขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เหยียดให้ตรงและต้องขนานกับพื้น จากนั้นงอข้อเท้าเข้าหาตัวให้ได้มากที่สุด ให้รู้สึกตึงๆ ทำค้างไว้ 10 วินาที และค่อยๆ คลายข้อเท้า วางขาลง ทำสลับซ้าย – ขวา ข้างละ 10 ครั้ง